เรื่องกาแฟล่าสุด

พันธุ์ของใบชา

พันธุ์ของใบชา ย้อนไปเมื่อ 2,000 ปีก่อน “ชา” ได้ถือกำเนิดขึ้นที่ประเทศจีนเป็นครั้งแรก นับแต่นั้นก็ได้แพร่หลายไปตามประเทศและทวีป

พันธุ์ของใบชา

ย้อนไปเมื่อ 2,000 ปีก่อน “ชา” ได้ถือกำเนิดขึ้นที่ประเทศจีนเป็นครั้งแรก นับแต่นั้นก็ได้แพร่หลายไปตามประเทศและทวีปต่าง ๆ จนในปัจจุบัน ชากลายเป็นเครื่องดื่มที่นิยมดื่มกันเป็นอันดับ 2 รองจากน้ำเปล่า เพราะแม้จะมีกาเฟอีนเหมือนกาแฟ แต่ก็ยังมีรสที่ไม่ขมเกินไป สามารถนำไปชงได้หลากหลายเมนู จึงดื่มง่าย เหมาะกับคนทุกเพศทุกวัย ในเมื่อมีความสำคัญขนาดนี้ วันนี้เราจึงอยากพาเพื่อน ๆ ไปรู้จักชาพันธุ์ต่าง ๆ กันให้มากขึ้น

พันธุ์ของใบชา

ชาที่เราดื่มกันทั่วไป หลัก ๆ แล้วจะแบ่งเป็น 2 สายพันธุ์คือ “ชาพันธุ์อัสสัม” และ “ชาพันธุ์จีน” แต่จากที่เราเห็นว่ามี ชาเขียว ชาขาว ชาดำนั้น แท้จริงแล้วสามารถผลิตได้จากชาทั้งสองสายพันธุ์ แต่ต่างกันที่กรรมวิธีค่ะ

  • ชาอัสสัม (Camellia sinensis vav. Assamica)

ชาสายพันธุ์นี้ ลักษณะจะเป็นไม้ยืนต้นสูง 6-18 เมตร ใบเป็นมันลื่น ใบใหญ่ มีความกว้างประมาณ 3-6 เซนติเมตร ขอบใบหยัก ที่เรียกว่าอัสสัม เพราะถูกปลูกขึ้นที่รัฐอัสสัม ประเทศอินเดีย มีจุดเด่นคือรสชาติเข้มข้น เพราะปลูกในสภาพอากาศร้อนชื้น ชาที่นิยมดื่มกันซึ่งทำจากชาอัสสัม เช่น อิงลิชเบรกฟาสต์ ไอริชเบรกฟาสต์ เป็นต้น

  • ชาจีน (Camelli sinensis vav. Sinensis)

แน่นอนว่าชาชนิดนี้ต้องริเริ่มปลูกกันในประเทศจีนแน่ ๆ ลักษณะของต้นชาเด่น ๆ คือ มีใบเล็กกว่าชาสายพันธุ์อัสสัม ความกว้างอยู่ที่ประมาณ 2-4 เซนติเมตร ปลายใบแหลม ให้ผลผลิตได้เยอะจึงนิยมปลูกกันมากตามสถานที่ที่มีอากาศหนาวเย็น จุดเด่นคือมีกลิ่นหอม มีกลุ่มชาสายพันธุ์เดียวกัน เช่น พันธุ์อู่หลง พันธุ์กวนอิม เป็นต้น

นอกจากนี้ยังมีชาพันธ์ญี่ปุ่น ซึ่งได้รับพันธุ์ใบชามาจากประเทศจีน ปัจจุบันญี่ปุ่นมีชามากกว่า 100 สายพันธุ์ แต่ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นพันธุ์ที่ชื่อว่า “ยาบูกิตะ” ซึ่งมีรสฝาด นิยมมาทำชาเขียว เช่น เซ็นฉะ ซึ่งนิยมดื่มกันมากในญี่ปุ่น ชาเกียคุโระ รสกลมกล่อม มัทฉะที่ควบคุมแสงในการปลูกแล้วนำใบชาที่แห้งแล้วมาบดเป็นผงด้วยโม่หิน

สำหรับ ชาขาว ชาเขียว ชาดำ ชาสมุนไพร ที่เราดื่ม ๆ กันนั้น เป็นการจัดประเภทของชาตามกรรมวิธีการผลิต เช่น “ชาขาว” คือชาที่นำมาอบไอน้ำในระยะเวลาสั้น ๆ “ชาเขียว” เป็นการนำใบชาที่ผ่านการอบไอน้ำมาทำให้แห้งอย่างรวดเร็วเพื่อคงความเขียวของใบชา “ชาดำ” คือการนำใบชามาทำให้แห้งเป็นเวลา 16 ชั่วโมง จากนั้นก็นำไปหมัก เป็นต้น ชาแต่ละประเภทสามารถผลิตได้จากชาต้นเดียวกัน และสายพันธุ์ไหนก็สามารถนำมาผลิตได้ค่ะ


ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *