เรื่องกาแฟล่าสุด

สายพันธุ์คาติมอร์ Catimor

สายพันธุ์คาติมอร์ Catimor

สายพันธุ์คาติมอร์ Catimor

            สำหรับอีกหนึ่งสายพันธุ์ของเมล็ดกาแฟ ที่เรียกได้ว่าเป็นการผสมผสานยีนโรบัสต้าเข้าไป เพื่อให้ต้นกาแฟสามารถต้านทานต่อโรคได้ดี และให้ผลผลิตออกมาคล้ายโรบัสต้านั้นก็คือเมล็ดกาแฟ “สายพันธุ์คาติมอร์ (Catimor)” ที่เป็นการผสมผสานระหว่างเมล็ดกาแฟอาราบิก้าและโรบัสต้านั้นเอง จึงทำให้เกิดเป็นชื่อเรียกนี้ขึ้นมา และนอกจากนี้ยังเป็นที่นิยมปลูกกันอย่างมาก และแพร่หลายในแถบอเมริกากลาง และในประเทศไทยก็ยังมีการนำมานิยมปลูก โดยจะเป็นโซนแถวภาคเหนือเช่น จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย และน่าน

สายพันธุ์คาติมอร์ Catimor

            หลายคนคงอาจจะไม่เคยได้ยินเมล็ดกาแฟ “สายพันธุ์คาติมอร์ (Catimor)” แต่ที่จริงแล้วเป็นอีกหนึ่งสายพันธุ์ที่มีการแตกย่อยและการผสมผสานโดยเป็นการเติมยีนของโรบัสต้าเข้าไป แต่ที่จริงแล้วเมล็ดกาแฟคาติมอร์มาจากเมล็ดกาแฟสายพันธุ์อาราบิก้าที่แตกย่อยออกมาประมาณ 95 % อีกทั้งเมล็ดกาแฟ “สายพันธุ์คาติมอร์ (Catimor)” ถูกค้นพบในปี ค.ศ. 1927 ซึ่งในช่วงนั้นจะเป็นการนิยมปลูกต้นกาแฟกันอย่างมากในแถบโซนอินโดนีเซีย หลังจากที่ได้มีการผสมยีนข้ามสายพันธุ์ของเมล็ดกาแฟแล้ว หลังจากนั้นในปีต่อมา ค.ศ. 1940 ก็ได้มีการคิดค้นและเริ่มตั้งชื่อสายพันธุ์กาแฟนี้เกิดขึ้น นั้นก็คือ “สายพันธุ์คาติมอร์ (Catimor)” และนอกจากนี้ก็ยังแพร่กระจายไปทั่วในตลาดโลกของประเทศอินโดนีเซีย ที่สำคัญลักษณะของต้นกาแฟสายพันธุ์นี้ ยังสามารถทนต่อโรค ทนต่อมแมลง และมีความแข็งแรงอย่างมาก เพราะเป็นผลมาจากยีนโรบัสต้า ที่ได้มีการผสมเติมยีนเข้าไป และช่วยสามารถกำจัดปัญหาเหล่านี้ได้ดีนั้นเอง แต่ถึงอย่างไรในเรื่องของรสชาติ ก็ยังเป็นจุดด้อยที่ต่างกับกาแฟสายพันธุ์อาราบิก้า และกาแฟสายพันธุ์โรบัสต้าอยู่ดี

            นอกจากนี้ต้นกาแฟ “สายพันธุ์คาติมอร์ (Catimor)” มีความพิเศษอีกอย่างนั้นก็คือสามารถทนโรคราสนิมได้ดีอีกด้วย และส่วนลักษณะของต้นกาแฟนี้นั้นก็คือ จะมีลักษณะที่เป็นทรงเตี้ย แต่สามารถทำให้ผลผลิตสูงขึ้นได้ และที่สำคัญมีรสชาติที่ดีขึ้นจากเดิม จากการที่นำแม่พันธุ์ของคาทูร่าผลแดงกับพ่อพันธุ์ไฮบริโดเดอติมอร์ มาทำการผสมยีนข้ามสายพันธุ์นั้นเอง อีกทั้งยังนิยมปลูกในพื้นที่ที่มีระดับน้ำทะเลความสูง ที่ 800 เมตร และสามารถทนต่อความชื้น และปริมาณน้ำฝนที่จำนวนมากได้ดี ซึ่งทำให้ต้นกาแฟ “สายพันธุ์คาติมอร์ (Catimor)” มีการทดลองข้ามยีนและผสมข้ามสายพันธุ์เพิ่มขึ้นอีกเรื่อยๆ โดยทำให้มีสายพันธุ์ที่แตกย่อยออกมาอีกรุ่นเล็กๆ นั้นก็คือ

  • HW26
  • SL 28
  • Sarchi
  • H528
  • H520

 

 

 

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *