เรื่องกาแฟล่าสุด

รู้ได้อย่างไรว่า ติดกาแฟ หรือ แค่อยากกิน

รู้ได้อย่างไรว่า ติดกาแฟ หรือ แค่อยากกิน

รู้ได้อย่างไรว่า ติดกาแฟ หรือ แค่อยากกิน

            เครื่องดื่มที่กลายเป็นมื้อเช้าของมนุษย์ยุคเร่งรีบ แน่นอนว่าคงหนีไม่พ้น “กาแฟ” เพราะเป็นเครื่องดื่มที่เหมือนน้ำมันขับเคลื่อนชีวิตให้มีแรงเร่ง กระปรี้กระเปร่า มีเรี่ยวแรงในการทำงานตลอดทั้งวัน แต่เคยสังเกตตัวเองไหมว่า วันไหนที่ไม่ได้ดื่มกาแฟอาการ มันเป็นมะริ่งกิ่งก่อง. สะระน๊องก่องแก่งมะน่องมะแน่งมั๊บ หรือเก็บทรงอยู่กันหรือเปล่า บางคนถึงกับเอ่ยปากว่า…ขาดกาแฟปานขาดใจ หรือการกินกาแฟเป็นแค่ความเคยชินกันแน่นะ? วันนี้เราเลยมีเช็คลิสต์ให้คุณมาประเมินกันว่า รู้ได้อย่างไรว่า “ติดกาแฟ” หรือ “แค่อยากกิน”

อาการของคน (เสพ) ติดกาแฟ

  • คุณเริ่มรู้สึกว่าเมื่อดื่มกาแฟแล้วไม่สามารถหยุดดื่มได้
  • คุณเริ่มรู้สึกว่าการดื่มกาแฟในปริมาณเท่าเดิมไม่เพียงพอ ต้องการเพิ่มปริมาณมากขึ้นเรื่อย ๆ เช่น จากเดิมเคยดื่ม 1 แก้ว วันถัดมาเริ่มรู้สึกว่าจากที่เคยดื่ม 1 แก้ว เริ่มไม่พอ ยังง่วงงาวหาวนอน               ไม่สดชื่น อยากได้เพิ่มเป็น 2-3 แก้วหรือมากกว่านั้น
  • คุณเริ่มรู้สึกว่าวันไหนที่ไม่ได้ดื่มกาแฟ จะเริ่มมีอาการทางร่างกาย เช่น ง่วงนอนมาก ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย ฯลฯ
  • คุณเริ่มรู้สึกว่าหากคุณไม่ได้ดื่มกาแฟ คุณจะไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติอย่างที่ควรจะเป็น เช่น ทำงานไม่ได้เพราะคิดงานไม่ออก มือสั่น ฯลฯ
  • คุณเริ่มมีปัญหาสุขภาพที่อาจมีสาเหตุจากการดื่มกาแฟปริมาณมาก เช่น นอนไม่หลับ โรคเกี่ยวกับระบบหัวใจและหลอดเลือด เป็นต้น
  • เคยมีเพื่อนหรือคนใกล้ชิดแสดงความเป็นห่วงต่อการดื่มกาแฟของคุณ

รู้ได้อย่างไรว่า ติดกาแฟ หรือ แค่อยากกิน

            เป็นยังไงกันบ้างคะ เข้าข่ายอาการ (เสพ) ติดกาแฟสักกี่ข้อกันเอ่ย ? ใครที่มีตั้งแต่ 1 ข้อ เป็นต้นไป

ต้องเริ่มตระหนักแล้วนะคะว่ามีความเสี่ยง ดังนั้นก่อนจะถลำลึกจนกู่ไม่กลับก็ควรเริ่มปรับพฤติกรรมการดื่มกาแฟของตัวเองดังนี้

  1. ค่อย ๆ ลดปริมาณการดื่มกาแฟลงทีละน้อย
  2. มองหาเครื่องดื่มอื่น ๆ มาทดแทนสลับกันไป เช่นชาโกโก้ น้ำผลไม้ เป็นต้น
  3. แก้ปัญหาตามอาการที่พบเฉพาะหน้า เช่น ถ้าปวดศีรษะอาจแก้โดยการรับประทานยาแก้ปวด นวดผ่อนคลาย หากิจกรรมเบี่ยงเบนความสนใจ เป็นต้น
  4. รับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ สร้างพลังงานให้ร่างกายอย่างเพียงพอ
  5. 5. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อสร้างความแข็งแรงให้ร่างกาย และกระตุ้นการหลั่งสารแห่งความสุขทดแทนการกระตุ้นจากกาแฟ

            อะไรที่มากจนเกินไปก็ไม่ดีทั้งนั้น กาแฟแม้จะมีข้อดีแต่ถ้าหากดื่มเกินความพอดีจนถึงขั้นเสพติดก็จะส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ดังนั้น ดื่มพอหายอยาก แต่อย่ามากถึงขั้นขาดไม่ได้นะคะ

 

 

 

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *