ลักษณะรูปร่างของเมล็ดกาแฟ
กว่าจะได้ เมล็ดกาแฟ ออกมาแต่ละสายพันธุ์นั้น ก็คงต้องอาศัยหลักปัจจัยที่สำคัญต่างๆในการควบคุมเป็นอย่างมาก เพราะถ้าหากดูแลรักษาการเก็บเกี่ยวไม่ถูกต้องหรือไม่ถูกวิธี ก็อาจจะทำให้เมล็ดกาแฟของคุณเกิดความเสี่อมสภาพและรสชาติขาดคุณสมบัติต่อการบริโภคนั้นเอง เช่นเดียวกับอีกหลายๆคนที่คงอยากจะทราบว่า เมล็ดกาแฟ แต่ละสายพันธุ์ต้องอาศัยหลักปัจจัยใดบ้างที่สำคัญในการเพาะปลูกหรือการควบคุม รวมไปถึงรูปร่างและลักษณะของ เมล็ดกาแฟ ที่ดีและมีคุณภาพ เลยจะพาทุกคนไปร่วมหาคำตอบกันว่าจริงๆแล้ว เมล็ดกาแฟที่ดีและมีคุณภาพนั้น จะมีลักษณะรูปร่างอย่างไร และแต่ละชนิดเหมาะกับพื้นที่หรือปัจจัยการปลูกแบบไหน และเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา ไปดูกันเลยดีกว่าว่าเมล็ดกาแฟแต่ละประเภทนั้นจะมีรูปร่างแบบเฉพาะอย่างไร?
อย่างที่ทราบกันอยู่แล้วว่า เมล็ดกาแฟ มีต้นกำเนิดจริงๆทั้งหมดอยู่ 4 สายพันธุ์ ซึ่งจะประกอบไปด้วย กาแฟสายพันธุ์อาราบิก้า กาแฟสายพันธุ์โรบัสต้า กาแฟสายพันธุ์เบอริก้า และกาแฟสายพันธุ์เอ็กซ์เซลซ่า โดยเมล็ดกาแฟทั้ง 4 สายพันธุ์นี้ก็จะมีพื้นที่ในการเพาะปลูกที่แตกต่างกันออกไป ทั้งในประเทศไทยบ้าง และต่างประเทศบ้าง ที่สำคัญในเรื่องของรสชาติก็จะมีความคล้ายคลึงกันออกไป แต่มีอยู่ 2 สายพันธุ์เมล็ดกาแฟที่ผู้คนมักจะนิยมใช้ และนำมาทำเป็นเครื่องดื่มบริโภคมากที่สุด ก็คงจะเป็นกาแฟสายพันธุ์อาราบิก้า และกาแฟสายพันธุ์โรบัสต้านั่นเอง ซึ่งทั้งสองสายพันธุ์นี้ก็จะมีรูปร่างที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งก็รวมไปถึงแหล่งเพาะปลูกด้วยเช่นกัน คือจะเป็นการเปรียบเทียบสองสายพันธุ์ดังนี้
- กาแฟสายพันธุ์อาราบิก้า : เป็นเมล็ดกาแฟที่มีคุณภาพและได้มาตราฐานของการบริโภคอย่างมาก เมล็ดกาแฟมีรูปทรงเรียวผอม ตรงกลางเมล็ดมีรอยผ่าไส้เป็นรูปตัว S มีรสชาติที่นุ่มละมุน และเมื่อผ่านกระบวนการคั่วเมล็ด จะมีกลิ่นที่หอมคล้ายช็อคโกแลตและดอกไม้ มักจะปลูกในพื้นที่อากาศเย็นและบริเวณพื้นที่ระดับน้ำทะเลสูง 800 – 2,000 เมตร
- กาแฟสายพันธุ์โรบัสต้า : เป็นเมล็ดกาแฟที่มีคุณภาพด้อยกว่าแต่ผลผลิตก็ถือว่าสูงกว่าเช่นเดียวกัน โดยเมล็กาแฟจะมีรูปทรงอวบอ้วน ตรงกลางเมล็ดจะมีเส้นผ่าตรง พร้อมด้านหลังของเมล็ดจะเป็นรอยนูนขึ้นมา เมื่อผ่านการคั่วแล้วจะไม่ค่อยมีกลิ่นที่ซับซ้อนมากสักเท่าไหร่ แถมรสชาติยังมีความฝาดมากกว่า มักจะปลูกในพื้นที่บริเวณระดับน้ำทะเลสูง 500 – 600 เมตร
และอย่างที่บอกว่า เมล็ดกาแฟ 2 สายพันธุ์นี้จะมีความแตกต่างกันออกไปมาก แต่หลักปัจจัยการควบคุมในการเพาะปลูกก็มีความคล้ายคลึงกัน ทั้งในเรื่องของสภาพดินที่ใช้ อุณหภูมิ ความชื้น ปริมาณน้ำฝน และปริมาณแสงแดด จึงมีความจำเป็นที่ต้องมีการควบคุมด้วยหลักที่สำคัญตามนี้!!